วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต เอกสารที่ต้องเตรียมและสถานที่ทำ

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต เอกสารที่ต้องเตรียมและสถานที่ทำ
อกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม

บุคคลบรรลุนิติภาวะ -  เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง ดังนี้

บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
 หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย

ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี – เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง ดังนี้
สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอ/เขต
 บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองนำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
​บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง หากชื่อนามสกุลบิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา ในกรณีที่บิดา/มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้
**หนังสือยินยอมของบิดา/มารดา ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต (ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องมีบิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่งมาแสดงตัวให้ความยินยอม)
เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
กรณีบิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต / บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและ ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ /บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง

ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
หากทำบัตรประชาชนแล้วสามารถติดต่อขอทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง ดังนี้
หนังสือยินยอมของบิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองที่ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตมาแสดงประกอบการยื่นคำร้อง หากไม่มีหนังสือยินยอม บิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นคำร้อง (หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาไม่ได้ ให้มาลงนามในวันรับเล่ม) หรือ มีหนังสือยินยอม จากฝ่ายที่มาไม่ได้มาแสดง เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้อง จากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น
 บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย
 เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบ สำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
อย่าลืมนำเอกสารที่เกี่ยวข้องไปแสดงให้ครบ หากเอกสารไม่ครบจะต้องนำเอกสารที่ขาดไปยื่นเพิ่มในวันรับเล่มซึ่งจะทำให้การรับเล่มล่าช้า เพราะต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบให้ครบ

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่
รับบัตรคิว
ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก(หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆที่จำเป็น เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ
วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า
แจ้งความประสงค์ หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์40 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม

ใช้เวลากี่วันถึงจะได้รับหนังสือเดินทาง?
ระยะเวลาจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ไปทำ รายละเอียดดังนี้
ยื่นที่กรมการกงสุล สามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
 ยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 2 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ
 สำหรับผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ แนะนำให้มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)
ลงทะเบียนทำพาสปอร์ตล่วงหน้า
เป็นเหมือนการจองคิวล่วงหน้า โดยสามารถเลือกวันเวลา และสาขาที่จะเข้าไปทำพาสปอร์ตได้ โดยเข้าไปลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่เว็บนี้ www.passport.in.th

เงื่อนไขการลงทะเบียนล่วงหน้า
การลงทะเบียนล่วงหน้าใช้สำหรับการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางธรรมดาเท่านั้น
สมัครสมาชิก 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน ต่อ 1 รายการจอง
สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 1 วันทำการ (ไม่นับวันที่ทำรายการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) และทำรายการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วันทำการ
ต้องมารายงานตัวและแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ท่านลงทะเบียนขอรับบริการไว้อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาขอรับบริการ มิฉะนั้นการลงทะเบียนจะถูกยกเลิก
กรณีที่การลงทะเบียนถูกยกเลิกตามเงื่อนไขข้อที่ 3 ท่านจะไม่สามารถใช้บริการลงทะเบียนล่วงหน้าได้อีกภายใน 30 วัน
ข้อมูลที่กรอกต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันของตนเองและเป็นข้อมูลจริงเท่านั้น
เตรียมเอกสาร – หลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด กรณีที่เอกสาร – หลักฐานไม่ครบถ้วน ทางกองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธการยื่นคำร้องหนังสือเดินทางของท่าน
เงื่อนไขในการออกหนังสือเดินทางเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2)
การทำหนังสือเดินทางเล่มด่วน
ตอนนี้เราสามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง เล่มด่วน (ประเภทบุคคลทั่วไปและประเภทราชการ) ทั้งแบบรับเล่มภายในวันทำการเดียวกัน และแบบรับเล่มในวันทำการถัดไป ได้แล้ว

1. ทำพาสปอร์ตเล่มด่วน ได้รับเล่มภายในวันทำการเดียวกัน
- ยื่นคำร้องและชำระเงินให้เสร็จภายในเวลา 12.00น. (รับบัตรคิวก่อนเวลา 11.30 น.)
- ขอรับเล่มได้ในวันเดียวกันที่ฝ่ายจ่ายเล่ม กรมการกงสุล ตั้งแต่เวลา 15.30 - 14.30 น.
- ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 3,000 บาท
- มีให้บริการเฉพาะที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เท่านั้น

2.  ทำพาสปอร์ตเล่มด่วนได้รับเล่มในวันทำการถัดไป
- รับเล่มในวันทำการถัดไป (24 ชม. นับจากชำระเงิน) ที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เท่านั้น
- ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 2,000 บาท

หมายเหตุ : หนังสือเดินทางเล่มด่วนจำกัดโควต้าการให้บริการรวมกันวันละไม่เกิน 400 เล่มเท่านั้น และไม่มีบริการเหล่านี้ที่สำนักงานศูนย์บริการฯ กระทรวงแรงงาน และหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่

สอบถามเพิ่มเติม โทร. Call Center 02 572 8442 (24 ชม.)

หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องทำอย่างไร

หายในประเทศ
หากจำเลขที่หนังสือเดินทางเล่มเดิมที่สูญหายได้ หรือ มีเอกสารที่ได้สำเนาไว้ ให้ติดต่อแจ้งความต่อตำรวจและนำใบแจ้งความจากตำรวจมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่
หากจำเลขที่หนังสือเดินทางเล่มเดิมที่สูญหายไม่ได้ ต้องติดต่อกับกรมการกงสุลหรือสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เพื่อค้นหาประวัติเลขที่หนังสือเดินทางเล่มเดิมก่อน หลังจากนั้นไปติดต่อแจ้งความต่อตำรวจและนำใบแจ้งความจากตำรวจมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่

หายในต่างประเทศ
ต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตนหรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

หากในกรณีที่ผู้ทำหนังสือเดินทางสูญหายต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง(Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งาน
สาขาที่ให้บริการทำหนังสือเดินทาง

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (07:30 - 15.30น.)
ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์  02 203 5000 กด 1 เพื่อติดต่อกรมการกงสุล
CALL CENTER หมายเลข 02 572 8442

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา-ศรีนครินทร์  
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 15.30น.)
ที่อยู่ ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 2 โซน E
โทรศัพท์ 02 136 3800, 02 136 3802  และ 093 -0105246 โทรสาร  02 136 3801

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 15.30น.)
สถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) คลองเตย
ที่อยู่ ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110
โทรศัพท์ 02-024-8896, 093-010-5247  โทรสาร 02-024-8897

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า 
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 15.30น.)
ที่อยู่ อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) ถนนบรมราชชนนี                               
โทรศัพท์ 02 422 3431  โทรสาร 02 422 3432

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 15.30น.)
ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาสุวินทวงศ์
ที่อยู่ 29 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510                                       
โทรศัพท์ 02 024 8362-63, 02 024 8365   โทรสาร 02 024 8361

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 0-5389-1535-6  โทรสาร 0-5389-1534

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)หลังใหม่ ถนนศูนย์ราชการ ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100
โทรศัพท์ 053-175375 โทรสาร 053-175374
 
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454  โทรสาร056-233-452

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี 
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810
     
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น 
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ หอประชุมอำเภอเมืองขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ 0-4324-2707,0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441
    
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี  
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้น 1 ด้านหลังฝั่งทิศตะวันตก จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-344581-2 โทรสาร 045-344646

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทยอำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133
  
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
โทรศัพท์ 039-301-706-9 โทรสาร 039-301-707

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-274940,077-274942-3  โทรสาร 077-274941

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ 076-222-080, 076-222-081, 076-222-083 โทรสาร 076-222-082

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่  ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000
โทรศัพท์ 074-326508-10  โทรสาร 074-326511

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา 
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 15.30น.)
ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา
เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ (08:30 - 16.30น.)
ที่อยู่ ศูนย์การค้าพัทยาอเวนิืว ชั้น 1 ถนนพัทยาสาย 2 เลขที่ 399/9 หมู่ 10 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
โทรศัพท์ 038-422438 โทรสาร 038-422437

ข้อมูลน่ารู้ท่องเที่ยวฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส




เวลา: ช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง

การเดินทางไปฝรั่งเศส: บินตรงจากกรุงเทพฯไปปารีส ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง

ระเบียบการเข้าเมือง: การเดินทางไปฝรั่งเศส หรือเดินทางผ่านฝรั่งเศสเพื่อไปประเทศอื่น จำเป็นต้องขอวีซ่าจากสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยก่อนเสมอ และต้องตรวจสอบจำนวนครั้งที่ท่านจะต้องเดินทางเข้า-ออก ฝรั่งเศส

สกุลเงิน: ใช้ธนบัตรและเหรียญเงินสกุลยูโร (€) ธนบัตร 500€ / 200€ / 100€ / 50€ / 20€/ 10€/ 5€ เหรียญ 2€ / 1€ / 50 cents / 20c / 10c / 5c / 2c / 1c เหรียญ 1€ =100 Cents

ภาษา: ภาษาฝรั่งเศส

อาหาร:
- ร้านอาหารส่วนใหญ่เปิดเวลา 12.00 น. – 15.00 น. และ 19.00 น. – 23.00 น. แต่บางแห่งอาจปิดดึกกว่านั้น เช่น ร้านเบียร์และร้านอาหารบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟ 
- ร้านเหล้าร้านกาแฟในฝรั่งเศสมีหลายประเภท หลายระดับ ตั้งแต่ cafe, cafe-restaurant, brasserie, bistrot และ restaurant 
- อย่าพลาดชิมฟัวกรา ( Foie gras ) หรือตับห่านหนึ่งในอาหารยอดนิยม ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล 

โทรศัพท์: โทรศัพท์สาธารณะ สามารถใช้ได้กับทั้งบัตรโทรศัพท์และบัตรธนาคาร บัตรโทรศัพท์สามารถหาซื้อได้ตามไปรษณีย์ และ Bar Tabac ซึ่งสามารถใช้โทรภายในและระหว่างประเทศ โดยมี 2 ชนิด คือแบบ 50 ยูนิต (7.41 ยูโร) และแบบ 120 ยูนิต (14.74 ยูโร) บนรถไฟ TGV และ Eurostar trains คุณสามารถใช้บัตร VISA & MASTERCARD / EUROCARD เท่านั้น ในการใช้โทรศัพท์

กระแสไฟฟ้า: ฝรั่งเศสใช้ระบบไฟฟ้าเหมือนประเทศไทยคือเป็นแบบ 220 โวลต์ บางที่ก็เป็นปลั๊กสองตา บางที่ก็เป็นปลั๊กชนิดสามขา

เรื่องน่ารู้ทั่วไป:
- รถแท็กซี่ในฝรั่งเศสนั่งได้ 3 คน เฉพาะที่ตรงด้านหลังคนขับเท่านั้น ที่นั่งด้านขวามือข้างหน้าคู่กับคนขับนั้น มักไว้ให้เป็นที่นั่งของสัตว์เลี้ยง 
- ระบบน้ำประปาในฝรั่งเศสสะอาดจนสามารถดื่มได้จากก๊อกเลย แต่ถ้าน้ำจากก๊อกที่ไหนไม่สะอาดพอ จะมีป้ายบอกไว้เสมอว่าไม่สามารถดื่มได้ หรือคำว่า eau non potable 
- ก่อนขึ้นรถไฟฝรั่งเศส จะต้องนำตั๋วรถไฟไปตอกลงตราที่เครื่องอัตโนมัติ (เป็นตู้สีส้มที่ตั้งอยู่ก่อนเข้าไปยังชานชาลารถไฟ) 
- ท่องเที่ยวในเมืองใหญ่เช่น ปารีส ควรระมัดระวังกระเป๋าและของมีค่าเสมอ

ข้อมูลน่ารู้ท่องเที่ยวอิตาลี

อิตาลี





เวลา: ช้ากว่าเวลาประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง

การเดินทางไปอิตาลี: บินตรงจากกรุงเทพฯ ไปอิตาลีใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 – 13 ชั่วโมง

สกุลเงิน: อิตาลีอยู่ในกลุ่มประเทศ EU ดังนั้นจึงใช้สกุลเงินยูโร (EUR) ซึ่งเป็นเงินสกุลของกลุ่มประเทศยูโร

ภาษา: ภาษาอิตาลี แต่การไปท่องเที่ยวที่อิตาลีนั้นอาจจะมีปัญหาในเรื่องภาษาบ้าง เนื่องจากป้ายบอกทางหรือข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอิตาลี

อาหาร:
- อาหารเช้าส่วนใหญ่เป็นกาแฟกับ Cornetto ( ครัวซองค์สไตล์อิตาลี ) มีหลายรสให้เลือก เช่น ไส้ครีม ไส้ชอคโกเลต  ไส้แยมผลไม้ หรือเคลือบด้วยน้ำผึ้ง 
- มื้อหลักของอาหารอิตาเลียน นั้นค่อนข้างมีหลากหลายเมนู ร้านอาหารส่วนใหญ่มักจะเสริฟ เมนูจานที่ 1 และเมนูจานที่ 2 ในบางครั้งอาจจะมีเมนูจานที่ 3 เพิ่มขึ้นด้วย 
- อาหารอิตาลีจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละที่ ไม่ใช่แค่ทางเหนือ ทางใต้เท่านั้น แต่ยังแบ่งเป็นแคว้นและในแต่ละเมืองยังมีอาหารขึ้นชื่อของเมืองนั้นๆอีกด้วย 
- อาหารที่อยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะราคาแพง และไม่ใช่รสชาติแบบอิตาลีแท้ๆ 
- เลือกร้านอาหารที่มีสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ต่างๆ แปะอยู่ที่หน้าร้านเยอะๆ เป็นสติ๊กเกอร์จากไกด์หรือนักชิมที่ค่อนข้างเชื่อถือได้ว่าร้านนี้อาหารอร่อย 

โทรศัพท์: โทรศัพท์สาธารณะมีอยู่ทั่วไปในอิตาลี โดยเฉพาะตามร้านเหล้า ซึ่งจะมีอยู่มากกว่าตามที่ทำการโทรศัพท์ด้วยซ้ำ และบางแห่งสามารถใช้บริการสแกตติ (Scatti / โทร.ก่อนจ่ายทีหลัง) ซึ่งบริการประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงานโทรศัพท์

ปัจจุบันโทรศัพท์สาธารณะสามารถใช้บัตรโทรศัพท์ ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายบุหรี่หรือที่ขายหนังสือพิมพ์ในราคา 2 ยูโร และ 4 ยูโร บางเครื่องก็ใช้ได้แต่กับการ์ดโทรศัพท์(Card Phone)

กระแสไฟฟ้า: อิตาลีใช้ระบบไฟฟ้าเหมือนประเทศไทยคือแบบ 220 โวลต์ บางที่จะเป็นปลั๊ก 2 ขา บางที่ก็อาจเป็นปลั๊กชนิด 3 ขา

เรื่องน่ารู้ทั่วไป:
- ไม่ควรซื้อสินค้าที่เป็นของเทียมหรือเลียนแบบ เนื่องจากกฎหมายอิตาลีกำหนดโทษปรับผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว10,000 ยูโร 
- การซื้อของควรนับเงินทอนให้ครบต่อหน้าคนขาย และหากใช้บัตรเครดิต ควรให้คนขายรูดบัตรต่อหน้า 
- ระวังทรัพย์สิน เงินสด เครื่องประดับ ขณะเดินทางโดยรถประจำทาง รถไฟฟ้าใต้ดิน รถราง โดยเฉพาะกระเป๋าสะพาย 
- ภัตตาคารส่วนใหญ่จะบวกค่าบริการไว้แล้ว โดยในใบเสร็จจะเขียนบอกไว้ว่า เซอร์วิซิโอ อี คอเปรโต (Servizio e coperto) 
- อย่าวางสิ่งของไว้ในรถ ในจุดที่เห็นได้ง่าย อาจโดนงัดแงะและถูกขโมยได้ 

ข้อมูลน่ารู้ท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา




เวลา :         
Altanta, Boston, New York, Nevada, Washinton ช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 12 ชั่วโมง
Chicago, Dallas ช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 13 ชั่วโมง
 Los Angeles, Sanfrancisco ช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 15 ชั่วโมง

การเดินทาง : จากกรุงเทพฯ ถึงสหรัฐอเมริกาใช้เวลาสั้นสุด 17 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ขึ้นอยู่กับรัฐที่เดินทางไป

สกุลเงิน : ใช้เงินสกุลดอลลาร์ ( ดอลลาร์สหรัฐ USD) ชื่อเล่นของจำนวนเงินที่ชาวอเมริกันเรียกกันคือ
1 เซนต์ เรียกว่า "เพนนี" (penny)
5 เซนต์ เรียกว่า "นิกเกิล" (nickel)
10 เซนต์ เรียกว่า "ไดม์" (dime)
25 เซนต์ เรียกว่า "ควอเตอร์" (quarter),
1 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่า "บั๊ก" (buck)
1,000 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่า “แกรนด์” (grand)

อาหาร :
- ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดหาได้ง่ายมีแทบทุกที่ เหมือน 7-11 บ้านเรา 
- หากไปลาสเวกัส บุฟเฟ่ต์ในโรงแรมเป็นอีกหนึ่งมื้อสุดคุ้ม ที่ให้คุณอิ่ม อร่อย ราคามีให้เลือกแตกต่างกันไป 
- สหรัฐอเมริกาเป็นที่อาศัยของคนแทบจะทุกเชื้อชาติ ร้านอาหารจึงมีให้เลือกหลากหลายราคา หลากหลายประเภท ทั้งของคาวของหวาน 

โทรศัพท์ : ระบบโทรศัพท์ที่สหรัฐอเมริกาคือ GSM 1900 หรือ CDMA 800 นักท่องเที่ยวที่นำโทรศัพท์มือถือติดตัวไปสามารถซื้อซิมการ์ดแบบเติมเงินได้

โทรศัพท์จากไทยไปสหรัฐอเมริกา กด 001 + 1 (รหัสประเทศสหรัฐอเมริกา) + area code + หมายเลขโทรศัพท์ปลายทาง

โทรศัพท์จากสหรัฐอเมริกากลับมาไทย กด 011 + 66 (รหัสประเทศไทย) + 2 (รหัสกรุงเทพ) +หมายเลขโทรศัพท์ปลายทาง

กระแสไฟฟ้า : สหรัฐอเมริกากระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 110 volts ส่วนเมืองไทยกระแสไฟฟ้าจะสูงกว่า อยู่ที่ 220 volts ดังนั้นถ้านำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทยมาใช้ในอเมริกา เราควรหาซื้อ Adapter ซึ่งเป็นตัวแปลงกระแสไฟฟ้ามาด้วย

เรื่องน่ารู้ทั่วไป :
- หากจะต้องขับรถที่สหรัฐอเมริกา สามารถใช้ใบขับขี่สากลที่ทำจากเมืองไทยได้ และไม่ควรขับเร็วกว่ากำหนด ขับช้าเกินไปก็ไม่ควรเช่นกัน 
- หากจะล็อคกระเป๋าเดินทางจะต้องใช้กุญแจล็อคที่ได้อนุมัติจาก TSA เท่านั้น เพราะมิเช่นนั้นแล้วกุญแจล็อคกระเป๋าของคุณ จะถูกทำลายแบบซ่อมไม่ได้ กุญแจของ TSA ได้ถูกออกแบบมา ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสนามบิน สามารถเปิดตรวจค้นได้ โดยไม่ต้องพังกุญแจ 
- การทิปในสหรัฐอเมริกานั้นเป็นเรื่องสำคัญ ควรให้อย่างน้อย 15-20%  (อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ) 
- ในฤดูใบไม้ร่วงจะมีการหมุนเข็มนาฬิกา ให้เวลาเดินหน้าเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง โดยจะหมุนในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม และในฤดูใบไม้ผลิ จะหมุนเข็มนาฬิกาให้เวลาถอยหลัง 1 ชั่วโมง โดยจะหมุนในวันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายน

ข้อมุลน่ารู้ท่องเที่ยวมาเลเซีย

มาเลเซีย



เวลา: เร็วกว่าประเทศไทยประมาณ 1 ชั่วโมง

การเดินทางไปมาเลเซีย: บินจากกรุงเทพฯ ไปมาเลเซียใช้เวลาประมาณ  2 ชั่วโมง หากอยากเปลี่ยนบรรยากาศสามารถนั่งรถไฟไปได้ แต่จะใช้เวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน

ระเบียบการเข้าเมือง: นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถเข้ามาเลเซียได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า และสามารถอยู่ได้นาน 30 วัน หนังสือเดินทางหรือเอกสารการเดินทางทีต้องมีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือนก่อนถึงกำหนดการเดินทาง

สกุลเงิน: ริงกิตมาเลเซีย (MYR)

ภาษา: มาเลเซียมีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ แต่ชาวมาเลย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการพูดกันอย่างแพร่หลายและค่อนข้างดี

อาหาร:
- อาหารยอดฮิตของชาวมาเลเซียที่ไม่ควรพลาดชิมคือ นาซี ลมะก์ (Nasi Lemak), เรินดัง (Rendang), ก๋วยเตี๋ยวผัด (Char Kway Teow), บะหมี่แกง (Mee Rebus) 
- อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ 
- ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง 
- ร้านอาหารส่วนใหญ่เมื่อนำอาหารมาเสริฟแล้วจะเก็บเงินทันที 
- เครื่องดื่มต่างๆที่มาเลเซีย รสจะไม่ค่อยหวานเท่าไรนัก 

กระแสไฟฟ้า: ระบบไฟฟ้าเป็นแบบ 240 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ซ และใช้ปลั๊กไฟแบบสามขาแบน

เรื่องน่ารู้ทั่วไป:
- ไม่ควรใช้นิ้วชี้มือขวาชี้สถานที่ สิ่งของ หรือคน ให้ใช้นิ้วโป้งมือขวาชี้ โดยพับนิ้วที่เหลือทั้งสี่เก็บไว้ 
- ก่อนที่จะเข้าไปในสถานที่ประกอบพิธี เช่น สุเหร่าหรือวัด จะต้องถอดรองเท้าออกก่อน สุเหร่าบางแห่งจัดเตรียมเสื้อผ้าและผ้าคลุมให้แก่นักท่องเที่ยวผู้หญิง 
- ถ้าไม่คิดจะซื้อของนั้นจริงๆ อย่าเพิ่งถามราคา 
- เมืองมะละกาเป็นเมืองปลอดบุหรี่แห่งแรกในประเทศ 
- ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ การเดินทางและการคมนาคมขนส่งสะดวกสบาย มีรถไฟลอยฟ้าและรถไฟใต้ดินถึง 3 สายด้วยกัน และมีราคาประหยัดมาก

ข้อมูลน่ารู้ท่องเที่ยวไต้หวัน

ไต้หวัน




เวลา : เร็วกว่าประเทศไทยประมาณ 1 ชั่วโมง

การเดินทางไปไต้หวัน : หากบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปไต้หวันใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

สกุลเงิน : ใช้สกุลเงิน Taiwan Dollar หรือ New Taiwan dollar (TWD หรือ NT$) ประกอบด้วยเหรียญ 1 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 20 ดอลลาร์และ 50 ดอลลาร์ ธนบัตรประกอบด้วย 100 ดอลลาร์, 200 ดอลลาร์, 500 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์และ 2,000 ดอลลาร์

ภาษา : ใช้ภาษา จีนกลาง (Mandarin) เป็นภาษาราชการ ฮกเกี้ยน (หมิ่นหนาน) เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้ทั่วไปคู่กับจีนกลาง ข้าราชการระดับสูงทั่วไปสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

อาหาร :
- อาหารราคาประหยัดที่หาทานได้ง่าย เป็นที่นิยมของชาวไต้หวันคือ หลู่โร่วฟ่าน (Lu rou fan) ข้าวหน้าหมูตุ๋นแบบสับ 
- เกี๊ยวน้ำเป็นอีกหนึ่งเมนูที่อร่อยและราคาถูก 
- ขนมที่พลาดไม่ได้คือ ไท่หยางปิ่ง ( Tai yang bing ) และพายสับปะรดหรือเค้กสับปะรด (ฟ่งหลีซู) เนื้อเค้กที่รสชาติเข้มข้นสอดไส้สับประรดหวานๆ เปรี้ยวๆ ความอร่อยของแต่ละร้านจะแตกต่างกันไป 
- เต้าหู้เหม็น กลิ่นคล้ายๆกับเต้าหู้เน่า ถ้าสามารถทนกลิ่นของเต้าหู้ได้ ก็แนะนำให้ลิ้มรสความอร่อยดูซักครั้ง 
- อาหารรถเข็นมีให้พบเห็นได้ทั่วไป ส่วนใหญ่จะขายเป็นขนมและอาหารว่าง ราคาไม่แพง
- ใครที่ชอบรสจัดจ้านของเครื่องเทศจีน ต้องลองชาบู Mala สูตรไต้หวัน รสเข้ม กลิ่นแรง ถูกใจแน่นอน 


โทรศัพท์ : โทรศัพท์ทางไกลจากไต้หวัน : รหัสโทรทางไกล (002 หรือ 009) + รหัสประเทศ (รหัสประเทศไทย 66) + รหัส พื้นที่ (เลข 0 ข้างหน้าเอาออก) + เบอร์โทรศัพท์  

โทรศัพท์ถึงไต้หวันจากต่างประเทศ : รหัสโทรทางไกล+ 886 + รหัส พื้นที่ (เลข 0 ข้างหน้าเอาออก) + เบอร์โทรศัพท์

กระแสไฟฟ้า : ไต้หวันใช้กระแสไฟฟ้า แบบ 110 V. 60 Hz (ไม่เหมือนประเทศไทย) ปลั๊กเสียบเป็นแบบ ขาแบน 2 ขา

เรื่องน่ารู้ทั่วไป :
- ไทเปและเมืองอื่นๆของไต้หวันได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัยสูงอีกแห่งหนึ่ง
- คนไต้หวันค่อนข้างมีน้ำใจและเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 
- เครื่องสำอางที่ไต้หวันราคาไม่ต่างจากไทยมากนัก ก่อนซื้อกลับมาต้องเช็คราคาดีๆ ก่อน แต่ที่ถูกคือมาส์กต่างๆ มีให้เลือกหลากหลายสูตรหลายยี่ห้อ คุณภาพดีและราคาย่อมเยา 
- รองเท้ากีฬาหลายยี่ห้อก็มีราคาถูกกว่าประเทศไทย
- ไต้หวันมีอาหารอร่อยๆ เพียบ โดยเฉพาะร้านข้างทางมีอาหารหลากหลายประเภทให้เลือกชิม ไม่แพ้ที่ไทยทีเดียว
- ถ้าไปเที่ยวไทเปต้องไม่พลาดไปเดินเล่นที่ตลาดกลางคืน ซึ่งมีอยู่หลายแห่งมากสามารถเลือกไปเที่ยวที่ใกล้ๆ กับที่พักได้ ตลาดมีขายทั้งของกิน ของใช้ เดินแล้วเพลินแน่นอน

ข้อมูลน่ารู้ท่องเที่ยวสิงคโปร์

สิงคโปร์




เวลา : เร็วกว่าประเทศไทยประมาณ 1 ชั่วโมง

การเดินทางสิงคโปร์ : จากกรุงเทพฯไปสิงคโปร์ใช้เวลาเดินทางราว 2 ชั่วโมงเศษ  การเดินทางจากสนามบินชางฮีเข้าสู่ย่านที่พักในสิงคโปร์นั้นค่อนข้างสะดวก และสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
MRT (Singapore Mass Rapid Transit) สถานีรถไฟฟ้าจะตั้งอยู่ที่เทอร์มินัล 2 และ 3 จะเปิดให้บริการตั้งแต่ 05.31-00.06 น. สำหรับวันจันทร์-เสาร์ และ 05.59-00.06 สำหรับวันอาทิตย์และวันหยุดต่างๆ 
Airport Shuttle Service  จะเป็นรถแท็กซี่แค็บแบบ 9 ที่นั่ง วิ่งให้บริการระหว่างสนามบินไปยังโรงแรมเกือบทุกแห่งในเมือง (ยกเว้นโรงแรม Changi Village และโรงแรมบนเกาะเซ็นโตซ่า) จะเปิดให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง และออกทุก 15 นาทีในช่วงเวลา 06.00-24.00 น. หลังจากนั้นจะออกวิ่งทุกๆ 30 นาที 
รถเมล์สาธารณะ (Public Buses) เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดในการเดินทางเข้าเมือง แต่อาจจะใช้เวลานานกว่า ท่ารถจะตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้นใต้ดินชั้น 2 (Basement 2) และอาคาร 2 ชั้นใต้ดิน (Basement) โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. 

ระเบียบการเข้าเมือง : นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถเข้าสิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า และสามารถอยู่ได้นาน 14 วัน

สกุลเงิน : หน่วยเงินตราของสิงคโปร์คือ ดอลลาร์ (Singapore Dollar) โดยแบ่งเป็น ธนบัตรมูลค่า S$2, S$5, S$10, S$20, S$50, S$100, S$500, S$1,000 และ S$10,000 เงินเหรียญมีตั้งแต่ 1, 5, 10, 20 เหรียญ และ 50 เซนต์

ภาษา : สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา โดยมีภาษามาเลย์เป็น ภาษาประจำชาติ ใช้ภาษาอังกฤษในวงการธุรกิจและการศึกษา ส่วนภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เป็นภาษาที่มีการใช้ในการสื่อสารทางสังคมมากที่สุด

อาหาร :
- อาหารจานเด็ดที่ไม่ควรพลาดคือ บักกุ๊กเต๋ (Bak Kut Teh) ข้าวมันไก่ ( Hainanese Chicken Rice ) นะซี เลอมัค (Nasi Lemak) ชาก๋วยเตี๊ยว ( Char Kway Teow ) 
- อาหารราคาประหยัดตามฟู้ดคอร์ทที่สิงคโปร์ราคาอยู่ที่ประมาณ 4 – 6 ดอลลาร์สิงคโปร์ 

โทรศัพท์ : ถ้าเอาสะดวกสุดคงต้องใช้บริการ M Simcard ซิมที่สามารถใช้ได้กับมือถือทุกระบบ โดยผู้ที่ใช้บริการไม่ต้องไปเปิด Roaming ต่างแดนให้เสียเวลา (แค่ใส่ซิมที่มือถือของเราก็สามารถใช้โทร.ภายในสิงคโปร์และโทร.กลับมาเมืองไทยได้ทันที) ซึ่งซิมจะมีอายุการใช้งานนานถึง 6 เดือน และสามารถหาซื้อได้จากร้านที่จำหน่ายในเมืองไทยในราคาเพียง 690 บาทเท่านั้น

กระแสไฟฟ้า : ระบบไฟฟ้า สิงคโปร์ใช้เหมือน เมืองไทย คือ 220 โวลต์ แต่ความแตกต่างนั้นคือ สิงคโปร์ใช้เต้าเสียบแบบ 3 ขา (บ้านเราใช้ 2 ขา)

เรื่องน่ารู้ทั่วไป :
- ที่พักในสิงคโปร์มีให้เลือกหลายระดับ ตั้งแต่ที่พักระดับห้าดาวไปจนถึงไม่มีดาวอย่างเกสต์เฮาส์ ซึ่งราคาค่อนข้างสูงหากเทียบกับฮ่องกงหรือมาเลเซีย 
- กฏหมายที่เข้มงวดทำให้อาชญากรรมและคดีต่างๆ มีจำนวนน้อยมาก นักท่องเที่ยวมั่นใจได้ในความปลอดภัย ขณะท่องเที่ยวในสิงคโปร์ 
- การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น รถบัส แท็กซี่ ลิฟต์ โรงภาพยนตร์ สถานที่ราชการ ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศและห้างสรรพสินค้าจะมีโทษปรับสูงสุดถึง 1,000 สิงคโปร์ดอลล่าร์ 
- การให้ทิปไม่ใช่ธรรมเนียมปฏิบัติของโรงแรมและร้านอาหารส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ เนื่องจากสถานที่เหล่านี้ได้เก็บค่าบริการไปแล้ว 10% ในบิลของลูกค้า

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต เอกสารที่ต้องเตรียมและสถานที่ทำ

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต เอกสารที่ต้องเตรียมและสถานที่ทำ เ อกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม บุคคลบรรลุนิติภาวะ -  เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทาง ด...